การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ
การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ
(backward design) เป็นรูปแบบที่วิกกินส์และ
แมคไทฮี (Wiggins & McTighe, 1998) พัฒนาขึ้น
รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนนี้เริ่มจาก
การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังซึ่งวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดจากหลักสูตรแกนกลาง
ซึ่งเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน การกำหนดหลักฐานหรือชิ้นงานที่ใช้ในการวัดผลและประเมินผลว่าผู้เรียน
บรรลุผลการเรียนรู้หรือไม่ จากนั้นจึงกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียน
จะเห็นว่า
กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับนั้นเริ่มจากจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเช่นเดียวกับ
ไทเลอร์ แต่มีกระบวนการดำเนินการที่ย้อนศรกับการออกแบบของไทเลอร์
สิ่งที่เป็นความแตกต่างของการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบไทเลอร์หรือแบบดั้งเดิม
และการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ ก็คือแนวคิดในการออกแบบ
ซึ่งการออกแบบการเรียน การสอนแบบดั้งเดิมใช้แนวคิดแบบนักออกแบบกิจกรรมที่คำนึงถึงกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้
ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้
ในขณะที่การออกแบบการเรียนการสอนแบบ
ย้อนกลับใช้แนวคิดแบบนักประเมินผลที่คำนึงถึงผลงานหรือชิ้นงานที่ใช้เป็นหลักฐานในการประเมิน
จุดประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้สร้างผลงานหรือชิ้นงาน
ซึ่งทั้งสอง แนวคิดมีความแตกต่างกัน
การออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ
มีหลักการที่ครูต้องทำ
หรือที่เรียกว่า หลัก 6 ต้อง ซึ่งพิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2552, หน้า 11-12) ได้เสนอแนะไว้ ได้แก่
1.
ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเชิงมาตรฐานการเรียนรู้ (integrated unit of learning) ซึ่งอาจเป็นหน่วยการเรียนรู้บูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน
(intradisciplinary integrated unit of learning) หรือหน่วยการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้
(interdisciplinary integrated unit of learning)
2.
ต้องเน้นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่คงทน
พัฒนาทักษะ การคิดทั่วไป และพัฒนาลักษณะที่เอื้อต่อการเป็นผู้เรียนรู้
ผู้สืบค้นรวมทั้งนักคิด
3.
ต้องเน้นการประเมินผลการเรียนรู้ที่มีการประเมินการปฏิบัติ การทำกิจกรรม
การทดลอง และการประเมินผลงานชิ้นงานและภาระงาน หรือกล่าวโดยสรุป
คือการประเมินตามสภาพจริง
4. ต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยใช้รูปแบบการสอน วิธีสอน แนวการสอนเป็นยุทธศาสตร์การสอน
5.
ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านการทำกิจกรรม 6.
ต้องให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้หรือถ่ายโยงความรู้
ซึ่งผลงาน/ ชิ้นงาน
ที่นักเรียนสร้างขึ้นจะเป็นหลักฐานหรือร่องรอยเชิงประจักษ์ของการใช้ความรู้
โดยสรุป
การออกแบบหลักสูตรย้อนกลับยึดหลักการสำคัญที่เน้นผลการเรียนรู้เป็นหลัก จากนั้น
จึงออกแบบการประเมินผลชิ้นงานหรือภาระงานที่เป็นหลักฐานแสดงผลการเรียนรู้
และออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ในท้ายที่สุด
กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ
ขั้นตอนการออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ
มี 3 ขั้นตอน (Wiggins & McTighe, 1998,
pp. 9-19)
ได้แก่
1. กำหนดผลการเรียนรู้ที่ต้องการ (identify desired
result) ในขั้นนี้ ผู้สอนจะต้อง
วิเคราะห์ว่าผลการเรียนรู้ที่หลักสูตรคาดหวังในหน่วยการเรียนรู้คืออะไร
อะไรเป็นความรู้หรือสาระการ เรียนรู้สำคัญที่ผู้เรียนควรรู้
ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มแรก คือ
เนื้อหาส่วนใหญ่ที่มีคุณค่าในด้านที่ทำให้เกิดความคุ้นเคยในสิ่งที่เรียน
ซึ่งเป็นรายละเอียดของเนื้อหาสาระ
2) กลุ่มที่สอง คือ เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานที่ควรรู้และควรทำได้
คือความรู้ที่เป็น ข้อเท็จจริง/ความคิดรวบยอด/ หลักการ และทักษะสำคัญ ได้แก่
ทักษะที่เป็นกระบวนการ กลวิธี และ วิธีการ
3)
กลุ่มที่สาม คือ ความคิดหลักหรือหลักการสำคัญที่เป็นแก่นหรือสาระสำคัญของ
หน่วยการเรียนรู้ที่เป็นความเข้าใจที่คงทนฝังอยู่ในตัวของผู้เรียนเป็นเวลานาน
ในขณะที่รายละเอียด
อื่น ๆ นั้น
ผู้เรียนอาจลืมไปแล้วแต่ในส่วนนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องเข้าใจอย่างแท้จริงและจดจำได้
ครูต้องให้ ความสำคัญกับเนื้อหาในส่วนนี้
และเป็นส่วนที่จำเป็นต้องประเมินว่าผู้เรียนรู้จริงหรือไม่ วิกกินส์และแมคไทฮี
ได้ก าหนดเกณฑ์ในการพิจารณากลั่นกรองความรู้ที่มีคุณค่าสมควรแก่การสร้างความเข้าใจ
ดังนี้
1.
เป็นความรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลายทั้งใน
เรื่องที่เรียนและเรื่องอื่น ๆ
2.
เป็นความรู้ที่เป็นหัวใจสำคัญของหน่วยที่เรียน
โดยผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการและค้นพบหลักการ
แนวคิดที่สำคัญนี้ด้วยตนเองจึงจะเป็นความรู้ที่คงทน
3.
เป็นความรู้ที่อาจจะไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนหรือค่อนข้างจะเป็นนามธรรม ซึ่ง
ผู้เรียนเข้าใจค่อนข้างยากและมักจะเข้าใจผิด
แต่ความรู้นี้เป็นหัวใจของหน่วยการเรียนรู้
4.
เป็นความรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงในการศึกษาค้นคว้า และเป็น
ความรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนมีความสนใจ
ตั้งใจทำกิจกรรมไม่เกิดความ เบื่อหน่าย
2. กำหนดหลักฐานที่แสดงผลการเรียนรู้ (determine acceptable
evidence of learning) ค าถามสำคัญสำหรับผู้สอนในขั้นตอนนี้ คือ
ผู้สอนจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ
ตามมาตรฐานหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
การแสดงออกของผู้เรียนควร เป็นอย่างไร จึงจะยอมรับได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องประเมินผล
การเรียนรู้โดยตรวจสอบการแสดงออกของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ครอบคลุมสิ่งที่วัดและสะสม
ผลการวัดตลอดหน่วยการเรียนรู้เพื่อรวบรวมหลักฐานร่องรอยของความรู้และทักษะของผู้เรียน
นอกจากนี้ การวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นความเข้าใจคงทนของผู้เรียนในภาพรวมที่เหมาะสมอีกวิธีหนึ่งคือ
การประเมินตามสภาพจริง
ซึ่งควรจะเป็นการวัดจากชิ้นงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ กระบวนการท างานและ
การสะท้อนผลการเรียนรู้จากผู้เรียนเองซึ่งเป็นการประเมินตนเองของผู้เรียน
3. ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเรียนการสอน (plan
learning experiences and instruction) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้น
ผู้สอนจะต้องพิจารณาดำเนินการในสิ่งต่อไปนี้คือ
1.
กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ
และจิตพิสัย ตามเป้าหมายที่กำหนด
2.
กำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะตาม
มาตรฐาน/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนรู้
3.
กำหนดสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม ที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาตาม
เป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด
4.
กำหนดจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละชุดของกิจกรรมการเรียนรู้
5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลจากการออกแบบการจัดการเรียนรู้
มา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนการออกแบบย้อนกลับดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปให้เห็นภาพความสัมพันธ์ของกระบวนการ
ออกแบบกับโครงสร้างของแบบแผน เกณฑ์ในการออกแบบและผลลัพธ์จากการออกแบบ
จากตารางข้างต้นจะเห็นความเกี่ยวพันของขั้นตอนการออกแบบย้อนกลับที่เริ่มต้นด้วยคำถาม
สำคัญในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ น าไปสู่หลักฐานความสำเร็จที่เป็นโครงสร้างของการออกแบบ
ในแต่ละขั้นตอน
เกณฑ์ในการพิจารณาประเมินหลักฐานความสำเร็จและการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
ที่ตอบคำถามสำคัญของการออกแบบหลักสูตร
|
หลักการของ Backward Design
กระบวนการออกแบบแบบย้อนกลับ (Backward Design) ของ Wiggins และMcTighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุด จากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ (Performances) ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน
แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า
ขั้นตอนที่ 1 อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
ขั้นตอนที่ 2 อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
ขั้นตอนที่ 3 ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุนทำให้เกิดความเข้าใจ ความสนใจ และความยอดเยี่ยมในหลักฐานนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 1 : การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์( อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า)
การใช้หลักการออกแบบแบบย้อนกลับ อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือการให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning goals) หรือเป้าหมายของความเข้าใจ ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน (Enduring Understanding) ที่ครูผู้สอนทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขาได้รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ บรรลุผลที่สำเร็จสมบูรณ์ที่สุด สิ่งนี้ก็เป็นจุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้ รวมทั้งแนวทางดำเนินการ, ชุดคำถาม ที่สำคัญด้วยเช่นกัน ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ๆหลักการต่างๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ
ตัวอย่าง ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน และชุดคำถามที่สำคัญ หรือแนวทางชุดคำถาม ประกอบด้วย
Ÿ เรามีวิธีการใดที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้เท่าทียมกัน ?
Ÿ มีวิธีการใดที่จะดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ?
Ÿ มีวิธีการใดที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ? จะดำรงชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงWiggins and McTighe เสนอแนะให้ใช้เครื่องกรอง “Filters” เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปคือ
Ÿ เป็นตัวแทนความคิดที่สำคัญ (big idea) มีคุณค่าฝังแน่นฝังใจมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าในระดับชั้นเรียน
Ÿ เป็นหัวใจที่สำคัญที่บรรจุลงลงในรายวิชา (ซึ่งมีผลต่อ “การลงมือทำ” ในเนื้อหาวิชา)
Ÿ ต้องไม่จำกัดขอบเขต (เพราะว่ามันเป็นนามธรรมและทำให้เกิดความคิดที่เข้าใจผิดอยู่เป็นประจำ)
Ÿ สนับสนุนความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 2 : การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์(อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ)
ครูผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า ความเข้าใจเหล่านี้ นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต, แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง Wiggins and Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ 6 ประการ (Six facets of understanding) โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง เมื่อนักเรียนสามารถ
Ÿ อธิบายชี้แจงเหตุผล (can explain)
Ÿ แปลความตีความ (can interpret)
Ÿ ประยุกต์ (can apply)
Ÿ มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have perspective)
Ÿ สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathise)
Ÿ มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have self – knowledge)
ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน ให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปเกี่ยวกับความเข้าใจ เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้(Learning styles) นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง ในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้ อะไรที่ทำให้ “backward design” แตกต่างจากกระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่าง ๆ คณะครูผู้สอนมีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจน ในการพัฒนาผลงาน / ภาระงานความสามารถ (Performance tasks) ด้วย Wiggins and Mctighe สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วนของการใช้การประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม อันประกอบด้วย การสังเกต การสอบย่อย การใช้แบบสอบประเภทต่างๆ เป็นต้นการกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของการประเมินผล ผลงาน/ภาระงานต่าง ๆ และการแสดงความสามารถต่างๆ ต้อง
Ÿ สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing understand)
Ÿ ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจผลงาน / ภาระงาน (tasks) ต้องมีการจำแนกแยกแยะและระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วย
วิธีการ Backward Design กำหนด ให้ครูคิดเหมือนนักประเมินผลครูจะเริ่มการวางแผนการเรียนรู้ด้วยการคิดถึง หลักฐานที่จะบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและต่อเนื่อง
ขอเน้นถึงความสำคัญ การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้น จนจบของลำดับขั้นตอน มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 3 : การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน ( อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร )
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้ว ผู้สอนสามารถเริ่มวางแผนการเรียนการสอนได้ โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้
1. ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
3. สื่อการสอนอะไรจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
4. การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น